1. ความหมาย
ที่มาของนาฏศิลป์ไทย
นาฏศิลป์ไทย
จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติอย่างหนึ่งที่เราควรเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ดังนี้
1.1 ความหมาย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช
2542 ได้ให้ความหมายของคำว่า
“ นาฏศิลป์ ” ไว้ว่า “
เป็นศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ ” นอกจากนี้
ยังมีนักการศึกษา และท่านผู้รู้ได้ให้นิยามความหมายของนาฏศิลป์แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. ความช่ำชองในการละครและฟ้อนรำ
2. ศิลปะการละครหรือการฟ้อนรำของไทย
3. การร้องรำทำเพลง
เพื่อให้เกิดความบันเทิงเริงใจ
4. การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นโดยการเลียนแบบท่าธรรมชาติด้วยความประณีตลึกซึ้ง
5. ศิลปะการฟ้อนรำหรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ
ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความงามอย่างมีแบบแผน
นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ
หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม
ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี
และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า
ศิลปะของการร้องรำทำเพลง
การศึกษานาฏศิลป์
เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์
อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว
ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน
โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป
จากความหมาย
และนิยามดังกล่าวข้างต้น
สามารถสรุปได้ว่า
นาฏศิลป์มีความเกี่ยวข้องกับศิลปะด้านการละคร การฟ้อนรำ
การเคลื่อนไหวอิริยาบถต่าง ๆ ทั้งมือ
แขน ขา ลำตัว
และใบหน้าเพื่อถ่ายทอดความหมาย
และอารมณ์ให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์และมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน
1. 2 ที่มา
สันนิษฐานว่านาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาพร้อม
ๆ กับชนชาติไทย
ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาฏศิลป์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย
คติ และความเชื่อของคนไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า นาฏศิลป์ไทยน่าจะมีที่มาจาก 4 แหล่ง
ดังนี้
1. จากการเลียนแบบธรรมชาติ
2. จากการละเล่นของชาวบ้าน
3. จากการแสดงที่เป็นแบบแผน
4. จากการรับอารยธรรมของอินเดีย
1. จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น
หลังจากเสร็จสิ้นจากภารกิจ ในแต่ละวันชาวบ้านก็หาเวลาว่างมาร่วมกัน ร้องรำ
ทำเพลง
โดยมีการนำเอาดนตรีมาประกอบด้วย
และตามนิสัยของคนไทยที่เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนชอบร้องเพลงโต้ตอบระหว่างชายกับหญิงจนเกิดเป็นพ่อเพลง
แม่เพลงขึ้นโดยจะมีลูกคู่
คอยร้องรับกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครงทั้งนี้อาจจะเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง เพื่อให้ลืมความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในแต่ละวัน
1. จากการแสดงที่เป็นแบบแผน
เป็นที่ทราบกันดีว่า นาฏศิลป์ไทยที่เป็นมาตรฐานจะได้รับการปลูกฝัง
และถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ไทยในวังหลวง
ที่ฝึกให้แก่ผู้หญิงและผู้ชายที่อยู่ในวังเป็นนักแสดงโขน และละคร
เพื่อใช้การแสดงในโอกาสต่าง ๆ
และจากการที่นาฏศิลป์ไทยบางส่วนได้รับการถ่ายทอดมาจากวังหลวงนี้เอง
ทำให้ทราบว่านาฏศิลป์ไทยมีที่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เพราะได้มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึกหลักที่ 8 ว่า
“ระบำ รำ
เต้น เล่น ทุกฉัน” ซึ่งศิลปะการฟ้อนรำก็ได้รับการสืบทอดต่อเนื่องกันเรื่อยมา
จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้มีการนำศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นแบบแผนมาสู่ระบบการศึกษา
ซึ่งบรรจุอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียนนาฏศิลป์หรือวิทยาลัยนาฏศิลป์ในปัจจุบัน
2. จากการรับอารยธรรมของอินเดีย ประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีอารยธรรมเก่าแก่และ
เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่โบราณกาล โดยเฉพาะการละครในอินเดียรุ่งเรืองมาก ประกอบกับชนชาติอินเดียนับถือ
และเชื่อมั่นในศาสนา พระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง
ๆ พระผู้เป็นเจ้าที่ชาวอินเดีย
ได้แก่ พระศิวะ(พระอิศวร) พระวิษณุ
และพระพรหม
ในบางยุคของชาวอินเดียถือว่าพระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีผู้เคารพนับถือมาก ยุคนี้ถือว่าพระอิศวรทรงเป็นนาฏราช
(ราชาแห่งการร่ายรำ)
มีประวัติทั้งในสวรรค์และในเมืองมนุษย์ในการร่ายรำของพระอิศวรแต่ละครั้งพระองค์ทรงให้พระภรตฤาษีเป็นผู้บันทึกท่ารำ แล้วนำมาสั่งสอนแก่เหล่ามนุษย์จนเป็นที่มาของตำนานการฟ้อนรำ
ซึ่งการเรียนนาฏศิลป์ไทยผู้เรียนทุกคนจะต้องเข้าพิธีไหว้ครูโขน-ละครก่อน
ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม
พระพิฆเนศวร พระพิราพ
และพระภรตฤาษี
3.จากการเลียนแบบธรรมชาติ กิริยาท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์จะบ่งบอกความหมาย
และสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ควบคู่ไปกับการพูด
ในการฟ้อนรำจะช่วยให้ท่ารำสื่อความหมายกับผู้ชมเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าการแสดงบางชุดจะไม่มีเนื้อร้อง
แต่มีทำนองเพลงเพียงอย่างเดียว
นักแสดงก็จะฟ้อนรำไปตามทำนองเพลงนั้น ๆ ด้วยลีล่าท่ารำต่าง ๆ
ลีลาท่ารำเหล่านี้ก็เป็นท่าทางธรรมชาติที่ใช้สื่อความหมาย
ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการให้ผู้ชมเข้าใจความหมายในการรำ และใช้ท่ารำในการดำเนินเรื่องด้วย
ถึงแม้ว่าท่ารำส่วนใหญ่จะมีลีลาที่วิจิตรสวยงาม
กว่าท่าทางธรรมชาติไปบ้างแต่ก็ยังคงใช้ท่าทางธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์ท่ารำ
และเลือกใช้ได้เหมาะสมบ่งบอกความหมายได้ถูกต้อง เช่น
หากต้องการบ่งบอกถึงบุคคลอื่นก็จะชี้ไป
เป็นต้น
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่ารำเกิดจากการเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ
3
องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า นาฏศิลป์ได้หมายรวมไปถึงการร้องรำทำเพลง
ดังนั้นองค์ประกอบของนาฏศิลป์ก็จะประกอบไปด้วยการขับร้อง การบรรเลงดนตรี และการฟ้อนรำ
ทั้งนี้เพราะการแสดงออกของนาฏศิลป์ไทยจะต้องอาศัยบทร้อง ทำเพลงประกอบการแสดง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ
ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 การฟ้อนรำ
เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้น
ให้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาท
และลักษะของตัวละคร ประเภทของการ
แสดงและการสื่อความหมายที่ชัดเจน
1.2 จังหวะ
เป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ
การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย
จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัดเพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาตbและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน
หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้วก็สามารถรำได้สวยงามแต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า
“ บอดจังหวะ” การรำก็จะไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง
การแสดงนาฏศิลป์ไทยประเภทการฟ้อนรำจะสวยงามได้หากนักแสดงทักษะทางการฟังจังหวะที่ดี
1.3 เนื้อร้องและทำนองเพลง
การแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง
ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ
ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถ สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจตรงกันได้
เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น
1.4
การแต่งกาย
ในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ
และบรรดาศักดิ์ของนักแสดงละครตัวนั้น ๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร
เช่น เมื่อแสดงเป็นหนุมาน
นักแสดงจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาวมีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวโขนลิงสีขาว ปากอ้า
เป็นต้น
1.5 การแต่งหน้า
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้นักแสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องบนใบหน้าของนักแสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้า เพื่อบอกวัยบอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น
แต่งหน้านักแสดงหนุ่มให้เป็นคนแก่
แต่งหน้าให้นักแสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น
1.6
เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง
การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงดังนั้นนักแสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง
ในขณะเดียวกันดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น
อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย
1.7
อุปกรณ์การแสดงละคร
การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุด อาจต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย เช่น
ระบำพัด ระบำนกเขา ฟ้อนเทียน
ฟ้อนเล็บ ฟ้อนร่ม เป็นต้น
อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องมีความสมบูรณ์ สวยงาม
และสวมใส่ได้พอดี
หากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องนำมาใช้ประกอบการแสดง เช่น
กลอง ร่ม เป็นต้น
นักแสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วสามารถจัดวางตำแหน่งให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องสวยงาม
Comments
Post a Comment